ในร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ หากเราดูแลสุขภาพ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายให้เพียงพอ ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว และตรวจสุขภาพในทุกๆปีจะช่วยป้องกันตัวเองได้จากโรคร้ายต่างๆ หากเจอโรคร้ายในระยะเบื้องต้นก็จะสามารถเข้าการรักษาได้ทันเวลา หากปล่อยให้ร่างกายเสื่อมโทรม ไม่ดูแลสุขภาพตนเอง ไม่ใส่ใจการตรวจสุขภาพประจำปี หากเกิดโรคร้ายแรง อาการของโรคไตจะออกอาการช่วงระยะที่ 3 และ ระยะสุดท้าย ท้ายที่สุดอาจรุนแรงขั้นลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆหรืออาจจะทำให้เสียชีวิตได้โดยฉับพลันได้
ไตคืออะไร?
“ ไต ” เป็นอวัยวะที่อยู่ด้านหลังของช่องท้องเชื่อมต่อกับกระเพาะปัสสาวะ มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วแดงหลวง ขนาดจะใหญ่ขึ้นตามช่วงอายุและตามขนาดของร่างกาย ขนาดไตของผู้ชายจะใหญ่กว่าขนาดไตของผู้หญิง ไตมีหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย ควบคุมสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย ควบคุมสารน้ำ และเป็นแหล่งผลิตของฮอร์โมนอีริโทรพอยอิติน เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูก เรนิน เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่ตอบสนองระดับความดันในโลหิตที่เปลี่ยนแปลงไป และช่วยในการควบคุมระดับความดันโลหิตให้คงที่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ ฮอร์โมนแคลซิ-ไทรออล เป็นสารประกอบย่อยของวิตามินดี ที่มีผลต่อการควบคุมสมดุลของแคลเซียม ทางเดินอาหาร และฟอสฟอรัสที่ไต ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสมบูรณ์ของกระดูก เมื่อขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เกิดความบกพร่องในการเพิ่มของมวลกระดูกทำให้ส่วนสูงในผู้ป่วยเด็กน้อยกว่าปกติ หากไตทำงานผิดปกติจะทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายไปด้วย
สาเหตุหลักที่เกี่ยวกับการทำงานผิดปกติของไต
- กรรมพันธุ์ เนื่องจากโรคที่เกี่ยวกับไตบางชนิดเช่นไตวายเรื้อรัง สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์ ทำให้ผู้ที่เสี่ยงที่จะเกิดโรคที่เกี่ยวกับไตคือ ผู้ที่เคยมีบุคคลในบ้านหรือญาติเป็นโรคไตวายเรื้อรังมาก่อนทำให้เกิดการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- โรคเบาหวาน หากคุณกำลังเป็นโรคเบาหวานจะทำให้คุณมีความเสี่ยงต่อการทำงานผิดปกติของไตเนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานจะปัสสาวะบ่อยมาก นั่นทำให้สามารถเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้
- การทานอาหารรสจัดเกินไป เช่นรสเค็มจัด หวานจัด จะทำให้ไตเกิดความผิดปกติและต้องทำงานหนักขึ้น ไตของเราก็จะมีความเสี่ยงที่จะเสื่อมก่อนคนอื่นๆ
- อายุ โรคไตพบได้ในผู้สูงอายุเนื่องจากความเสื่อมสภาพของอวัยวะต่างๆในร่างกายรวมถึงไตด้วย ยิ่งไตทำงานได้ไม่ได้ดีหรือมีความเสื่อมตามอายุขัยทำให้เสี่ยงที่จะเกิดโรคไตชนิดต่างๆได้
- การอักเสบบริเวณทางเดินปัสสาวะ การที่ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยจนทำให้เกิดอาการแสบขัดในระหว่างการปัสสาวะ นั่นคือสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งของโรคไต
- เป็นนิ่ว นิ่วคือสารจากการตกตะกอนของแร่ธาตุชนิดต่างๆที่อยู่ในร่างกายแล้วรวมตัวกันเป็นก้อน มีชนิดและขนาดที่แตกต่างกันไป โดยมักเกิดขึ้นบริเวณไต แต่อาจพบได้ตลอดระบบทางเดินปัสสาวะ และบริเวณอื่น ๆ ทำให้เวลาปัสสาวะจะรู้สึกเหมือนปัสสาวะแค่นิดเดียวแต่จะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย
- การติดเชื้อ หากการแสบขัดบริเวณทางเดินปัสสาวะแต่ปล่อยให้เป็นแบบนี้นานมากเกินไปจะทำให้เกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้ไตทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดโรคร้ายแรงขึ้นได้
- เนื้องอกในไต หากตรวจพบเนื้องอกในไต นั่นเป็นสัญญาณร้ายว่าเราอาจจะเป็นมะเร็งไต ซึ่งหากพบเนื้องอกในระยะเริ่มต้นถึงระยะที่สามสามารถทำการผ่าตัด ฉายแสง(บรรเทาอาการเท่านั้นไม่ทำให้หายขาดได้) หรือการให้ยาเคมีเพื่อยับยั้งการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆได้
- อุบัติเหตุ หากเกิดอุบัติเหตุมีการกระแทกอย่างรุนแรงจะทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อไต ทำให้ไตอาจจะเกิดความผิดปกติขึ้นได้เช่นเดียวกัน
- การทานยามากเกินเหตุ การที่เราเลือกที่จะไปซื้อยาเองที่ร้านขายยา โดยไม่ปรึกษาหมอก่อนที่จะซื้อยามารับประทาน หากทานยาในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น
วิธีป้องกันตนเอง อาการโรคไตที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น
การใส่ใจเรื่องอาหาร ไม่ทานอาหารรสจัดมากเกินไป
การออกกำลังกายและการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน จะทำให้คุณเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับไตน้อยลง การดูแลสุขภาพตัวเองและการคอยสังเกตอาการผิดปกติของตัวเอง หากไปพบหมอทันเวลาโอกาสที่จะเสี่ยงต่อโรคต่างๆมีน้อยมาก สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการตรวจสุขภาพประจำปี แน่นอนว่าอาการของโรคบางโรคไม่สามารถบ่งบอกออกมาได้ ถึงจะบ่งบอกก็อาจจะไปถึงระยะที่ 3 หรือ ระยะสุดท้ายไปแล้ว หากคุณไปตรวจโรคประจำปีและพบความผิดปกติของอวัยวะภายในจะทำให้รักษาได้ทันท่วงที
อาการเบื้องต้นที่เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณอาจจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับไตได้แก่
- การเกิดอาการบวม เนื่องจากการทำงานผิดปกติของไตลดลง ทำให้ขับน้ำและเกลือได้น้อยลง อาการบวมสามารถสังเกตได้ง่ายเช่น เท้าบวม หน้าบวม ก้นกบบวม เมื่อกดลงไปแล้วจะบุ๋มลงไป
- ปัสสาวะแสบขัด อาการเบื้องต้นที่บ่งบอกว่าไตทำงานผิดปกตินั่นคือ มีอาการปัสสาวะแสบขัด หรือรู้สึกเจ็บแสบบริเวณทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
- ปัสสาวะเป็นฟอง หากคุณปัสสาวะออกมาเป็นฟองนั่นหมายความว่าโปรตีนในไตรั่วออกมามาก เพราะในคนที่ไตทำงานปกติจะไม่ปัสสาวะออกมาเป็นฟองหรืออาจมีฟองบ้างเล็กน้อยแต่ถ้าหากมีฟองมากเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตอักเสบได้
- รู้สึกปวดปัสสาวะแต่ฉี่ไม่ออกหรือฉี่ไม่ออกจนมีก้อนนิ่วขนาดเท่านิ้วก้อยออกมาตอนปัสสาวะ
- ปัสสาวะเป็นสีเลือด ลิ่มเลือด หรือสีชา เป็นสัญญาณเตือนของโรคไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรืออาจจะเป็นนิ่วได้ หากผู้ป่วยสูบบุหรี่ร่วมด้วยจะทำให้มีความเสี่ยงมาก หากพบเพียงแค่ลิ่มเลือดเล็กน้อยก็ควรจะไปหาหมอเพื่อให้ตรวจอย่างละเอียดด้วยกล้องจุลทรรศน์ว่าเป็นโรคที่เกี่ยวกับไตหรือไม่
- ความดันโลหิตสูงในคนที่ช่วงอายุต่ำกว่า 35 ปี และ คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ถือว่าอันตราย เพราะการเกิดความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุเกิดมาจากโรคไตหลายๆโรคได้แก่ ไตวาย ไตอักเสบ หรือ เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตมีลักษณะตีบ
- ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหลังร่วมด้วย แม้ไม่ใช่อาการบ่งบอกของโรคโดยตรงแต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ
- ซีดขึ้น เนื่องจากไตมีผลกระทบต่อการสร้างเม็ดเลือด หากไตทำงานผิดปกติ การสร้างเม็ดเลือดก็ผิดปกติเช่นเดียวกัน
- คลำพบก้อนบริเวณไต ก้อนที่คลำพบนั้นอาจจะเป็นเนื้องอกที่เกิดที่ไตก็เป็นไปได้ แต่ถ้าหากไม่ใช่ก้อนนั้นคือถุงน้ำดี
- หากผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร หลับยาก ผิวแห้ง แตก และมีอาการคันร่วมด้วย อาการเหล่านี้ก็เป็นสัญญาณบ่งบอกในระยะเกือบสุดท้าย
- หากผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ เป็นตะคริว ความจำสั้นลง ซึม หากยังไม่นำส่งโรงพยาบาลอาจจะทำให้ชัก หมดสติและเสียชีวิตด้วยอาการของไตวายเฉียบพลันได้
หากผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ในเบื้องต้นควรไปหาหมอ ตรวจฉี่ ตรวจเลือด หรือตรวจเยื่อบุในไตเพื่อวินิจฉัยโรคไตทันทีเพื่อไม่ให้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆในร่างกาย หากรักษาทันเวลาจะทำให้เราปลอดภัย ไม่เสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายที่เกี่ยวกับไตได้
โรคต่างๆที่เกี่ยวกับไต วิธีการป้องกันและรักษา
โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะตั้งแต่ ทางเดินปัสสาวะส่วนต้น(ไต) ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะออกไปจากร่างกาย ทั้งหมดนี้สามารถเกิดการติดเชื้อขึ้นได้ทุกที่ แต่หากเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนบน(ไต) ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ จะมีความเสี่ยงมากกว่าการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง(ท่อปัสสาวะที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะออกไปจากร่างกาย) โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้หญิง เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่า มีรูเปิดใกล้รูทวารมากกว่า อับชื้นได้ง่ายกว่าทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายขึ้น
วิธีการป้องกัน
- ควรดื่มน้ำให้มากๆ และไม่ควรอั้นปัสสาวะนานเกินไป
- รักษาความสะอาด หากเป็นผู้หญิงควรเช็ดจากหน้าไปหลังเพื่อเลี่ยงไม่ให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปในท่อปัสสาวะ
- รีบถ่ายปัสสาวะทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ หากผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละ 5 ครั้ง จะมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียได้มากกว่าผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละครั้งหรือผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อแบคทีเรียมีน้อยกว่ามาก
- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศเช่นแป้ง น้ำหอม หรือสารระงับกลิ่น
- ไม่อันตรายมากหากติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง โรคนี้สามารถป้องกันได้ไม่ให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้
โรคถุงน้ำในไต
เป็นโรคที่เกิดถุงน้ำในไตทำให้ไตมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ทำให้ไตทำงานได้ไม่ดีนัก ผลกระทบทำให้มีความดันโลหิตสูง มีการติดเชื้อที่ไต ทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง หรืออาจจะทำให้ไตหยุดทำงานได้ โรคนี้เป็นโรคที่สามารถติดต่อกันทางพันธุกรรมได้แบ่งออกได้ดังนี้
- โรคถุงน้ำในไตแบบธรรมดา ลักษณะจะมีน้ำใสๆอยู่ข้างในไม่เป็นอันตรายมากนักแต่ส่งผลกระทบทำให้ปวดหลังปวดเอวหรือมีไข้ วิธีการรักษาคือเจาะดูดน้ำออกหรือฉีดยาเพื่อให้ถุงน้ำในไตหดตัวลง
- โรคถุงน้ำในไตแบบถ่ายทอดทางพันธุกรรม ลักษณะจะเป็นถุงน้ำหลายๆใบและมีจำนวนมาก เป็นอันตรายเพราะถ้ามีมากจะทำให้ส่งผลกระทบต่ออวัยวะใกล้เคียง ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ทำให้ต้องฟอกเลือด ผ่าตัดเปลี่ยนไต หรืออาจจะทำให้เกิดไตวายเฉียบพลันถึงขั้นเสียชีวิตได้
- โรคถุงน้ำในไตแบบผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน ทำให้เลือดออกในช่องท้องทำให้เกิดการอักเสบ และลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง
- โรคถุงน้ำในไตแบบมะเร็ง(เนื้องอกในถุงน้ำในไต) ลักษณะจะมีเนื้องอกอยู่ในถุงน้ำในไต ถุงน้ำในไตชนิดนี้มีขนาดหนาและมีเลือดปนอยู่ในถุงน้ำ การรักษาจะต้องผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกออกเท่านั้น
โรคไตอักเสบแบบเฉียบพลัน
โรคไตอักเสบเป็นโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบของเส้นเลือดฝอยในไต ซึ่งในปกติแล้วเส้นฝอยในไตมีหน้าที่กรองของเสียหรือของเหลวส่วนเกินที่ปนมาใสกระแสเลือดให้กลายเป็นปัสสาวะ โรคนี้เกิดขึ้นเองได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเกิดผลกระทบจากโรคพุ่มพวงหรือโรคเบาหวาน การสังเกตอาการของโรคนี้ไม่มีอาการบ่งบอกแต่ต้องตรวจวินิจฉัยโดยการตรวจจากปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื้อในไต เท่านั้น
- โรคไตอักเสบแบบเฉียบพลัน เป็นการอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียของกรวยไตทั้งสองข้าง ทำให้ไตมีพังผืด ไตใหญ่ขึ้นและมีฝีกระจายอยู่ทั่วไตหรือไตอาจจะมีขนาดเล็กลงจนเกิดภาวะไตวาย อาการเบื้องต้นคือเจ็บบริเวณเอวทั้งสองข้าง ปวดหัว มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หัวใจเต้นเร็ว ความดันในโลหิตสูง ตาพร่ามัว ปัสสาวะน้อยผิดปกติ ตาและหน้าบวมขึ้นผิดปกติเนื่องจากน้ำและเกลือคั่งอยู่ การรักษาในปัจจุบันสามารถรักษาได้หลายวิธีคือการควบคุมอาหารการกิน การให้ยาปฏิชีวนะ
โรคไตวายเรื้อรัง
โรคไตวายเรื้อรัง ลักษณะอาการของผู้ป่วยจะมีเลือดออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นฟอง ปัสสาวะออกมาเป็นเม็ดทรายหรือนิ่ว เจ็บบริเวณท้องหรือสะโพก และมีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย อาการเหล่านี้เป็นภาวะที่ไตไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ และลดหน้าที่ลงตามระยะอาการที่เป็น คือ
- ไตวายเรื้อรังระยะที่ 1 ไตทำงานได้แค่ 80 % – 51 %
- ไตวายเรื้อรังระยะที่ 2 ไตทำงานได้แค่ 50 % – 25 %
- ไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 ไตทำงานได้แค่ 25 % – 15 %
- ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ไตทำงานได้แค่ 10 % – 15 %
โรคไตวายเรื้อรังเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตอักเสบ หรือโรคไตที่เกิดจากพันธุกรรม วิธีการรักษาโดยยารักษาตามอาการ การควบคุมอาหาร การฟอกไตหรือการปลูกถ่ายไต
โรคไตวายเฉียบพลัน
โรคไตวายเฉียบพลัน อาการของผู้ป่วยคือมีปัสสาวะน้อยกว่า 400 มิลลิลิตรต่อวัน คลื่นไส้อาเจียน มีของเสียคลั่งอยู่ในร่างกาย เบื่ออาหาร ท้องเสียท้องผูก เยื่อบุในช่องปากอักเสบ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ซึม ชัก หายใจลึก บวม อาจมีอาการหัวใจล้มเหลว อาการเหล่านี้เป็นความผิดปกติในการทำงานของไต เมื่อไตยุติการทำหน้าที่ทันทีทันใดจะทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันหากเป็นระยะสุดท้ายและหากไปไม่ถึงมือหมอทันเวลาทำให้เกิดความอันตรายถึงชีวิตได้ การรักษาโรคนี้จะต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น
ฟื้นฟู โรคไต ด้วย เห็ดหลินจือ
ไตเป็นอวัยวะด่านสุดท้ายทำหน้าที่กรองของเสียออกจากร่างกาย โดยทั่วไปจะเริ่มเสื่อมสภาพตามอายุ เริ่มต้นจะเป็นโรคเบาหวาน ความดัน เก๊าต์ ฯลฯ มาก่อน ทำให้ไตเริ่มรับภาระหนักขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
สรรพคุณเห็ดหลินจือ มีประโยชน์มากมาย จึงได้ชื่อว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยด้านการสร้างสมดุลย์ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยต้านอนุมูลอินสระ ช่วยล้างสารพิษในร่างกาย เห็ดหลินจือช่วยทำให้ละลายไขมัน ละลายลิ่มเลือด จึงทำให้หลอดเลือดไม่อุดตัน และช่วยลดการอักเสบภายในร่างกาย จึงช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปที่ไตได้ดี ทำให้อัตรากรองของเสียดีขึ้น ในขณะเดียวกันยังช่วยลดการอักเสบทำให้โปรตีนหรือไข่ขาวรั่วออกมาทางปัสสาวะดีขึ้นด้วย เป็นการช่วยฟื้นฟูการทำงานของไต ให้ช่วยยืดอายุของไต
สำหรับผู้ป่วยโรคไต ควรปรับพฤติกรรมการทานอาหารและการใช้ชีวิต โดยการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จำกัดอาหารที่มีโปรตีน ไขมัน และอาหารรสจัดเพื่อช่วยให้ไตทำงานดีขึ้นด้วย
เสียงเล็กๆ ของผู้ป่วยโรคไต
“การไม่มีโรค…เป็นลาภอันประเสริฐ” อวัยวะต่างๆในร่างกายของมนุษย์นั้นย่อมเสื่อมไปตามกาลเวลา บางคนเสื่อมเร็วบางคนเสื่อมช้า นั่นขึ้นอยู่กับการใส่ใจสุขภาพของตนเอง การไปตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพราะโรคบางอย่างไม่แสดงอาการออกมาเลยแม้แต่นิดเดียว การใส่ใจสุขภาพ การเลือกทานอาหาร การดื่มน้ำให้เพียงก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ควรทานให้พอเหมาะ ออกกำลังกาย เพียงเท่านี้ก็จะทำให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันที่ดีเยี่ยม